วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ตลาดบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว (Flexible Packaging) เติบโตมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นาย Sushmita Mahajan นักวิเคราะห์จาก Frost & Sullivan ให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ความต้องการอาหารต่างไปจากเมื่อก่อน ส่งผลให้มีความต้องการบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย
ปัจจุบันนี้บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว ได้เข้ามาแทนที่บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป (rigid) มากขึ้น เพราะสามารถลดต้นทุนและดัดแปลงได้มากกว่า เช่น ถุงแบบตั้งได้ (Stand-up pouches) และถุงซิป (re-closable packs) ที่ได้เปรียบในการนำไปผลิตสินค้าประเภทที่มีความเปลี่ยนแปลงเร็ ว หรือเรียกว่า fast-moving consumer goods (FMCG) เมื่อเปรีบเทียบกับบรรจุภัณฑ์คงรูปแบบเดิม
นาย Mahajan อธิบายเพิ่มเติมว่า มีบริษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ผู้ผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหลายบริษัท ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเลือกใช้บร รจุภัณฑ์จากในประเทศเหล่านี้ ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้น
บรรจุภัณฑ์แบบ Flexible pouches ที่สามารถปิดซ้ำได้ (re-sealable closures) จะใช้พลังงานต่ำและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์แบบคง รูป นอกจากนี้แล้วบรรจุภัณฑ์แบบ flexible ยังได้เปรียบกว่าในเรื่องต้นทุน ซึ่งรวมไปถึงการขนส่งต่าง ๆ สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ประมาณ 17% เมื่อเทียบกับการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป และค่าการปล่อยของเสียยังน้อยกว่าด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีการเติบโตของบรรจ ุภัณฑ์แบบ flexible เพิ่มมากขึ้น
การขยายตัวอย่างมากนี้ ยังเกิดขึ้นจากการวิถีการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่ทันสมัยมากขึ ้น และความต้องการส่งออกสินค้าอาหาร ที่ท้ายที่สุดแล้วไปส่งผลให้เกิดความต้องการบรรจุภัณฑ์มากขึ้นต ามไปด้วย เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ทำให้บรรจุภั ณฑ์แบบคงรูปถูกแทนที่ด้วยบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัวนั้น ก็มีส่วนที่ทำให้ตลาดขยายตัว
ใน อนาคต สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น พลาสติกชีวภาพนั้นเป็นเพียงตลาดเล็ก ๆ (niche market) ที่ยังคงถูกจำกัดในเรื่องต้นทุนและคุณสมบัติต่าง ๆ ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย
นาย Mahajan กล่าวว่า ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้มีการพัฒนาการผลิตบรรจุภัณ ฑ์แบบยั่งบืน และเปิดโอกาสให้ฟิล์มพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องการการพัฒนาอีกมากเพื่อจะก้าวผ่านอุปสรรคเรื่องข้อจำกัด ของคุณสมบัติพลาสติกชีวภาพต่าง ๆ นั่นคือ ราคาที่สูงและการใช้พลาสติกชีวภาพที่มีอยู่ในวงแคบ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น