ส1

บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากการใช้งานที่สะดวก รูปร่างแปลกใหม่ ในบทนี้จะอธิบายวัสดุกระป๋องที่ทำด้วยโลหะและกระป๋องที่ทำด้วยกระดาษจำแนกได้เป็นดังนี้
1. กระป๋องบรรจุอาหารและเครื่องดื่มเป็นการนำโลหะมารีดเป็นแผ่น แล้วนำไปขึ้นรูปตามความ ต้องการได้แก่
1.1 แผ่นเหล็ก เคลือบดีบุก (tinplate) เป็นแผ่นเหล็กดำ (black– plate) ที่มีความหนาระหว่าง 0.15– 0.5 มิลลิเมตร นำ มาเคลือบผิวหน้าด้านเดียวหรือทั้งสองหน้าด้วยดีบุก เพื่อ ให้ทนทานต่อการผุกร่อน และ ไม่เป็นพิษ
1.2 แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก (tin free steel, TFS) เป็นแผ่นเหล็กดำ ที่นำมาเคลือบด้วยสารอื่นแทนดีบุก เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ในปัจจุบันมีการเคลือบอยู่ 3 แบบ คือ
-เคลือบด้วยสารผสมฟอสเฟตและโครเมต เป็นฟิล์มบางๆ ใช้ทำกระป๋องบรรจุเบียร์น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และทำถังโลหะชนิดต่างๆ
-เคลือบด้วยอะลูมิเนียม มีความทนทานต่อการกัดกร่อนเนื่องจากความชื้นได้ดีแต่ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีความเป็นกรดหรือด่าง
สูง


-เคลือบด้วยโครเมียมและโครเมียมออกไซด์ เพื่อให้สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ดีนิยมใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหารทะเล นมข้นหวาน เป็นต้น
1.3 อะลูมิเนียมหรือโลหะผสมอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติเด่นตรงที่มีน้ำหนักเบาทนทานต่อการกัดกร่อน เนื่องจากความชื้น แต่ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง นิยม นำมาใช้กับกระป๋องบรรจุเบียร์ น้ำอัดลม กระป๋องสำหรับฉีดพ่น กระป๋องบรรจุเครื่องสำอาง
2. กระป๋องกระดาษ ( Composite Can ) ประกอบด้วยกระดาษมาตรฐาน 180 กรัม ต่อตารางเมตร นำมาประกอบกับแผ่นอะลูมิเนียมเปลวแล้วประกบกับฟิล์มเอทีลีน ( Ethylene ) อีกชั้นหนึ่ง โดยใช้กระดาษอยู่ที่ชั้นนอก พลาสติกอยู่ชั้นในมีกระบวนการผลิต 2 วิธี
2.1 แบบ Parallel Winding ใช้กระดาษชุบกาวพับรอบแกนทับกันไปเรื่อย ๆ จนได้ความหนาที่ต้องการ นิยมใช้บรรจุสินค้าทีมีน้ำหนักมาก เช่น ถังบรรจุสารเคมี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
2.2 แบบ Spiral Winding เป็นการม้วนกระดาษพับเป็นเกลียวเฉียงขึ้นไป เหมือนกับแกน
ของกระดาษชำระ เมื่อพันเสร็จแล้วยังไม่แห้ง หลังจาปล่อยให้หายแล้วจึงตัดเป็นท่อน
นิยมใช้บรรจุอาหารประเภทขนมขบเคี้ยว

ฉลากอาหาร
ทุกวันนี้อาหารสำเร็จรูปได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นทุกที ไม่เฉพาะแต่ในกรุงเทพมหานครหรือเมืองใหญ่ๆเท่านั้น แม้แต่ในชนบทชาวบ้านในหมู่บ้านก็มีร้านค้าจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น โอกาสที่จะพบแม่บ้านเจียวน้ำมันหมู ตำเครื่องแกง หรือดองผักไว้กินเองก็ค่อยๆหมดไปแล้ว อาหารสำเร็จรูป เครื่องประกอบการ ปรุงอาหาร ทั้งในรูปของแห้ง ผง บรรจุขวด กระป๋อง ถุงพลาสติก แช่เย็น ฯลฯ ได้เข้ามาแทนกิจกรรมการทำครัวที่ยุ่งยากวุ่นวาย ผู้บริโภคสมัยใหม่กลุ่มใหญ่ของประเทศต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตโดยผู้ผลิต ซึ่งมีทั้งระดับอุตสาหกรรม หรือบางครั้งระดับครัวเรือน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่จะสนใจให้เวลาสัก 2 นาทีเพื่อสังเกตและอ่านฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุอาหารก่อนที่จะไปซื้อหาไปบริโภคและเห็นคุณค่าของข้อมูลที่ระบุไว้บนฉลากนั้น ข้อมูลที่แจ้งบนฉลากที่ดี ประกอบกับการมีความรู้ทางวิชาการด้านอาหารและโภชนาการอีกเล็กน้อยจะช่วยให้เราสามารถรู้ถึงที่มาของอาหารในแง่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ความคุ้มค่าของราคา และความปลอดภัยที่จะบริโภคอาหารเหล่านั้นเพื่อให้ท่านได้เข้าใจในหลักการก่อนที่จะทราบถึงวิธีการเลือกดูผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเสนอในครั้งต่อไป ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้แบ่งอาหารที่มีในท้องตลาด ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. อาหารควบคุมเฉพาะ มีการระบุมาตรฐานทั้งในแง่ความปลอดภัยและคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ และบางครั้งแสดงคุณค่าทางโภชนาการไว้ เช่น อาหารกระป๋อง นม และผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
2. อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มีข้อกำหนดที่หลวมกว่าอาหารควบคุมเฉพาะ มี 6 ชนิด เช่น ไข่เยี่ยวม้า อาหารที่มีสารปนเปื้อน ฯลฯ
3. อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
4. อาหารทั่วไป ระบุว่า เป็นอาหารที่ต้องไม่มีสิ่งที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค

1. เครื่องหมายทะเบียนหรือเลขอนุญาตใช้ฉลากอาหาร แสดงตามแบบที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อันประกอบด้วยอักษร อย. ซึ่งเป็นคำย่อของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาติดกับแถบซึ่งภายในมีตัวอักษรรหัสที่มีความหมายถึง สถานภาพของสถานที่ผลิตและประเภท
ตัวอย่างเช่น ในกรณีของอาหารควบคุมเฉพาะ
อักษร “ผ” หมายถึง ผลิตในประเทศ (สถานที่ผลิตเข้าข่ายเป็นโรงงานอุตสาหกรรม)
อักษร “ฉผ” หมายถึง ฉลากผลิต (ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศที่ไม่เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรม)
อักษร “ส” หมายถึง อาหารที่นำหรือสั่งเข้ามาในประเทศ (ผลิตจากต่างประเทศ)
ในความหมาย “เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรม” คือ มีเครื่องจักรตั้งแต่ 2 แรงม้าหรือคนงาน 7 คนขึ้นไป ส่วนอักษรตัวหรือชุดถัดไป หมายถึง ประเภทอาหาร เช่น “นป” หมายถึง น้ำปลา “ช” หมายถึง น้ำส้มสายชู “ซ” หมายถึง ซอสและซีอิ๊ว เป็นต้น
เมื่อนำมาประกอบกับอักษรชุดแรกก็ทำให้ได้ความหมายลึกลงไปอีก เช่น “ผช” หมายถึง น้ำส้มสายชูที่ผลิตในประเทศโดยผู้ผลิตที่เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรม หรือ “ฉผนป” หมายถึง น้ำปลาที่ผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศที่ไม่เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรม ในกรณีของอาหารประเภทกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารประเภททั่วไปที่ต้องมีฉลาก จะใช้ “ฉผ” นำหน้าทั้งหมด ส่วนตัวเลขที่ปรากฏในแถบ คือ เลขทะเบียนและปีที่ได้รับอนุมัติการขึ้นทะเบียน
2. น้ำหนักสุทธิหรือปริมาตรสุทธิ คือ น้ำหนักหรือปริมาตรของอาหารที่ไม่รวมภาชนะบรรจุ ในบางกรณี เช่น ผลไม้กระป๋อง เนื้อกระป๋อง มักระบุน้ำหนักสุทธิและน้ำหนักเนื้ออาหาร (drain weight) ซึ่งเป็นน้ำหนักของอาหาร ส่วนที่เป็นเนื้อหรือของแข็งซึ่งต้องกรองเอาส่วนที่เป็นของเหลวแยกออกจึงจะชั่งน้ำหนัก ซึ่งตามกฎหมายน้ำหนักเหล่านี้ต้องระบุเป็นหน่วยเมตริก
3. ชื่ออาหารภาษาไทย ต้องระบุไว้โดยใช้อักษรสีเดียวกัน
4. ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ ต้องระบุปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนัก และเรียงจากปริมาณมากไปหาน้อย
5. ระบุส่วนประกอบบางประเภทหากมีการเติมลงไป เช่น การเจือสี การใช้ผงชูรส การใช้วัตถุกันเสีย การแต่งรส การแต่งกลิ่น เป็นต้น สารเคมีหลายอย่างที่ใช้เติมลงในอาหารอาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้บริโภคบางกลุ่ม จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้บริโภคที่ต้องรู้ว่ามีการเติมสารดังกล่าวลงในอาหาร
6. ระบุวันที่ผลิต หรือวันที่หมดอายุ ซึ่งตามปกติแล้วอาหารที่มีอายุการเก็บสั้น เช่น นมสดพาสเจอร์ไรซ์นมเปรี้ยว มักจะระบุวันที่หมดอายุ ส่วนอาหารที่มีอายุการเก็บยาวนาน เช่น อาหารกระป๋อง มักระบุวันที่ผลิตด้วย
7. ชื่อผู้ผลิตพร้อมที่อยู่
8. คำแนะนำในการเก็บรักษา โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องเก็บในสภาพความเย็น
9. คำแนะนำในการเตรียมเพื่อบริโภค เป็นต้น
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวโพด